วัดพระยาสุเรนทร์

พันตรี พระยาสุเรนทร์ (ราชเสนา) (พึ่ง สิงหเสนี) ผู้สร้างวัดพระยาสุเรนทร์

        ประวัติพระยาสุเรนทร์ พันตรีพระยาสุเรนทร์ราชเสนา (พึ่ง สิงห์เสนี) เป็นบุตรของท่านเจ้าพระยามุขมนตรี (เกด สิงหเสนี) มารดาชื่อ นางนาค กัลาณสุต มีพี่น้องทั้งหมด ๑๒ คน ท่านพระยาสุเรนทร์เป็นบุตรคนที่ ๘ พันตรีพระยาสุเรนทร์ราชเสนา ภรรยาชื่อ ท่านคุณหญิงสุเรนทร์ ราชเสนา (บุญมี สิงหเสนี) รับราชการทหารสืบทอดความเป็นนักรบ ผู้กล้าหาญ จากบรรพบุรุษสืบต่อจากผู้เป็นปู่ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์ สิงหเสนี) สมุหนายก คู่พระทัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถวายตัวเป็นมหาดเล็กกรมพระราชวังบวรไชยชาญ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ จนได้รับรับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ โปรดกระหม่อมได้ดำรง ตำแหน่งตามลำดับดังต่อไปนี้

- เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ

- เมื่ออายุได้ ๑๗ ปี กรมพระราชวังบวรฯโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงจำนงบริรักษ์ในกรมมหาดเล็ก

- เมื่ออายุได้ ๑๙ ปี กรมพระราชวังบวรฯโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาโยธาธิราชครั้งกรมพระยาบวรฯทิวงคตแล้ว ข้าราชการฝ่ายพระราชวังบวรฯลงมาสมทบในพระบรมมหาราชวังพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดเกล้าให้เป็นพระยาสุเรนทร์ราชเสนา ได้เป็นพระยาเมื่ออายุ ๓๐ ปี แล้วภายหลังพระยาสุเรนทร์ได้รับสัญญาบัตรเป็นนายพันตรีในกรมยุทธนาธิการทหารบก พันตรีพระยาสุเรนทร์ราชเสนา มิได้สืบทอดแต่ความเป็นนักรบจากต้นตระกูลสิงหเสนีเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้สืบทอดความจงรักภักดี แด่พระมหากษัตริย์และสืบทอดพระพุทธศาสนาด้วย

           โดยเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๔๒๕ ท่านได้สร้าง วัดพระยาสุเรนทร์ หรือ วัดบึงพระยาสุเรนทร์ บนเนื้อที่ของตนเองที่แขวงมีนบุรี (เขตคลองสามวาปัจจุบัน) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้บรรพชาเป็นสามเณรด้วยศรัทธาอันแน่วแน่ จนกระทั่งมรณภาพ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ด้วยโรคชรา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ โปรดกระหม่อม ให้เจ้าพนักงานส่งหีบเพลิง พระราชทานเพลิงศพอันเป็นเกียรติยศยิ่งแก่ พันตรีพระยาสุเรนทร์ราชเสนาและวงศ์ตระกูลสืบมาในวันที่ ๒๖ ตุลาคม รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๙ ปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทยฝ่ายพระราชวังบวรฯ ที่แขวงเมืองมีนบุรีพระราชทานเงิน ๑,๐๐๐ สตางค์ ผ้าขาว ๒ พับ การก่อสร้างวัด ได้ก่อตั้งวัดพระยาสุเรนทร์ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๕ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๖ ร.ศ ๑๐๑ โดยทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ประจำวัดขึ้น เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จึงได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕ ) และได้พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันพุธ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๑พ.ศ.๒๔๓๑ ปัจจุบันวัดพระยาสุเรนทร์ มีอายุ ๑๒๕ ปี อุโบสถมีอายุ ๑๑๙ ปี มีท่านพระครูสังฆรักษ์โสภณ (หลานทวด) เป็นเจ้าอาวาสวัดพระยาสุเรนทร์ องค์ปัจจุบัน ประวัติด้านวิทยาคมของ ท่านพระยาสุเรนทร์ จากคำบอกเล่าของ ท่านอธิการดวง สิงหเสนี อดีตเจ้าอาวาสวัดบึงพระยาสุเรนทร์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของ เจ้าพระยาสุเรนทร์ ได้สืบเสาะเกี่ยวกับประวัติการสร้างพระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์ โดยสอบถามจากโยมบิดา (คุณปู่ ชุ่มบุตรชายคนโต ของท่านเจ้าพระยาสุเรนทร์) และผู้เฒ่าผู้แก่ที่ทันยุคทันสมัยของพระยาสุเรนทร์ นั้น พอสรุปได้ว่า ท่านพระยาสุเรนทร์เดิมทีเป็นผู้สนใจในวิชาอาคม และได้รับการถ่ายทอดการปลุกเสกน้ำมันมนต์วิเศษของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (ปู่ของท่าน) สำหรับออกทัพจับศึกให้ผิวหนังคงกะพันชาตรี ทนต่อศาสตราวุธทั้งปวงและก่อนที่ท่านจะบรรพชาเป็นสามเณร ยังสืบเสาะหา พระเกจิอาจารย์จอมขมังเวท ขอถ่ายทอดวิชาอาคมแขนงต่าง ๆ รวมทั้งขอผงวิเศษ และว่านศักดิ์สิทธิ์นานาชนิดเก็บรวบรวมรักษาไว้กระทั่งบรรพชาเป็นสามเณรได้ดำริสร้างพระพิมพ์ขึ้นด้วยตนเอง (พระกรุบึงพระยาสุเรนทร์) โดยดำเนินการด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการแกะพิมพ์พระด้วยงาช้าง,ผสมผงกดพิมพ์พระ และการปลุกเสกพระกรุบึงพระยาสุเรนทร์

               วัด พระยาสุเรนทร์ เป็นวัดเก่าแก่ได้ก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๔๒๕ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๖ ร.ศ.๑๐๑ ได้ทำพิธีวางศิลาประจำวัดขึ้น เมื่อสร้างวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ทำหนังสือทูลเกล้าถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ราชกาลที่ ๕ และได้รับพระราชทานที่วิสุงคามสีมา เมื่อวันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ พ.ศ. ๒๔๓๑ ปัจจุบันวัดพระยาสุเรนทร์เก่าแก่มีอายุ ๑๒๐ ปี ส่วนอุโบสถนั้นมีอายุ ๑๑๔ ปี เมื่อเจ้าคุณปู่พระยาสุเรนทร์ราชเสนา ( พึ่ง สิงหเสนี ) ได้สร้างวัดพระยาสุเรนทร์ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรและได้ปลูกกุฎีอยู่ที่โคกสารัยที่ใกล้เคียงกับศาลใน ปัจจุบัน และเมื่อท่านได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๙ และต่อมาประชาชนที่พึ่งใบบุญ ท่านอยู่ ได้ร่วมกันสร้างศาลไว้เป็นที่สถิตของวิญญาณของท่านโดยอยู่ใต้ต้นไทรและหัน หน้าไปทางทิศใต้ ต่อมาได้เกิดความแห้งแล้งขึ้น พวกชาวบ้านโดยการนำของคุณชุม สิงหเสนี ได้ทำการขุดสระน้ำขึ้น ยาวประมาณ ๑ เส้น กว้าง ๑๐ วา ต่อมาชาวบ้านได้เรียกว่า สระน้ำปู่ ซึ่งในหน้าแล้ง ประมาณเดือน ๑, เดือน ๕, เดือน 6ถ้าเกิดฝนแล้ง ชาวบ้านจะนำสัตว์เลี้ยงมากินน้ำที่สระศาลปู่ ในตอน ๑๐ โมงเช้า และ ๖ โมงเย็นเป็นประจำ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ กรมชลประทานได้ทำการขุดลอกคลองให้ลึกและกว้างประมาณ ๖ วา ในราวเดือนกรกฎาคม ๒๕๑๐ เข้าพรรษาได้ประมาณ ๑ สัปดาห์ เรือขุดได้ทำการขุดคลองมาจนถึงเขตวัด เมื่อเวลา ตี ๔ เศษ ได้ทำการขุดเข้ามาในเขตวัดเป็นกระบวยแรก คันกระบวนซึ่งเป็นโครงเหล็กภายนอก ภายในเป็นไม้กว้าง ๑๒ คูณ ๑๒ นิ้ว ได้หักลง หัวหน้าเรือขุดจึงหยุดทำการขุดและได้มาหาอาตมาปรึกษาว่าจะทำอย่างไรจึงจะขุด ได้โดยไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นอีก อาตมาได้แนะนำให้เขามาทำการบวงสรวงบอกกล่าวและขออนุญาตต่อเจ้าคุณปู่ที่ศาล พวกเรือขุดจึงได้มาทำการบวงสรวงและขออนุญาตได้เอาน้ำมนต์จากท่านไปพรหม แล้วจึงได้ทำการขุดต่อโดยสะดวกไม่มีเหตุการณ์ใดๆ ปรากฏขึ้น จนขุดมาถึงหลักเขตวัดที่ปักอยู่กลางคลองเก่าซึ่งชาวบ้านเรียกว่า หลักเมตร เวลาประมาณ ๓ นาฬิกา นายช่างประจำเรือขุดก็ได้มาหาอาตมาขอร้องให้ไปถอนหลักเขต จึงได้ไปทำการถอนหลักเขตเอาไว้ที่ข้างกุฏิ ซึ่งขณะนั้นยังไม่สว่างจึงได้ผลัดเปลี่ยนผ้าและเข้านอน ก็ได้เกิดนิมิตขึ้นว่า เจ้าคุณปู่ท่านได้มาหาและปรากฏร่างขึ้น ท่านว่าพระถอนหลักเขตแล้วต้องปักให้ใหม่นะ ในฝันก็บังเกิดความคิดขึ้นว่า จะขอเจ้าคุณปู่สักอย่างหนึ่ง จึงบอกกับท่านว่าขอให้ท่านช่วยให้หลานได้สร้างศาลให้เจ้าปู่ใหม่ ถ้าท่านไม่ช่วยหลานก็จะไม่ปักเขตให้และไม่ทำป้ายชื่อวัด ท่านยิ้มๆแล้วก็จากไป ต่อมาประมาณหนึ่งเดือน นายทองดำ สีดา ซึ่งเป็นบุตรของอาจันทร์ ได้มาหาอาตมา และถามว่าหลวงพี่ขออะไรเจ้าคุณตา ท่านไปหาผมที่บ้าน จึงบอกกับเขาว่า ขอให้ท่านได้ช่วยให้สร้างศาลให้ใหม่ เขาจึงบอกว่าผมให้หลวงพี่หนึ่งหมื่นบาท สำหรับสร้างศาลใหม่จึงได้ทำการสร้างศาลขึ้นใหม่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
               เมื่อ สร้างศาลแล้ว คืนหนึ่ง เมื่อสวดมนต์อันเป็นกิจประจำวัน จึงได้อธิฐานจิต ขอให้ท่านได้ช่วยให้มีผู้มาช่วยหล่อรูปโลหะเท่าตัวจริงครึ่งตัวโดยถือเอาภาพ ของท่านเป็นต้นแบบ และเมื่อมีโอกาสจะทำบุญร้อยปีอุทิศให้ท่าน ต่อมาวันหนึ่ง คุณสมจิตต์ สิงหเสนี ได้มาหาและถามว่า หลวงพี่ขออะไรเจ้าคุณปู่ จึงบอกกับเขาว่า จะหล่อรูปของท่านไว้เป็นที่ สักการะ คุณสมจิตต์จึงมอบเงินให้แปดพันบาท เมื่อเสร็จจึงได้ทำการฉลอง เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๓

             สำหรับ ของดีที่วัดพระยาสุเรนทร์ หลังจากพระยาสุเรนทร์ราชเสนา (พึ่ง สิงหเสนี) ได้สร้างและพัฒนาวัดแล้วท่านได้ทำพระสมเด็จวัดพระยาสุเรนทร์เอาไว้ 4 พิมพ์ด้วยกัน เมื่อ พศ. 2531 และฝังใส่ไว้ในไต้พระประธานจนถึงปัจจุบันนี้ 
พระสมเด็จวัดพระยาสุเรทร์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น 4 พิมพ์ทรง คือ 
1. พิมพ์พระเจ้า 5 พระองค์ 
2. พิมพ์ทรงเจดีย์หรือทรงฐานแซม 
3. พิมพ์ทรงปกโพธิ์ 
4. พิมพ์เล็บมือ 
พุทธลักษณะของสมเด็จวัดพระยาสุเรนทร์ ซึ่งแยกพิมพ์ทรงต่าง ๆ คือ 
1. พิมพ์พระเจ้า 5 องค์ ลักษณะเป็นพระเครื่อง ซึ่งมีมิติสี่เหลี่ยมผืนผ้าเกือบจะจตุรัส เช่น สมเด็จ ฯ มีรูปของพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชรอยู่บนฐาน 2 ชั้น ปรากฏอยู่บนผนัง 5 องค์ องค์กลางใหญ่สุดและมีฐานเพียงชั้นเดียว ส่วน 4 องค์หลัง อยู่ที่มุมของสี่เหลี่ยมทั้ง 4 ด้าน ด้านละ 1 องค์ 
2. พิมพ์ทรงเจดีย์หรือฐานแซม พุทธลักษณะเป็นพระเครื่องซึ่งมีมิติสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยแท้จริง บางองค์ถ้าตัดกรอบแคบก็จะดูยาวหรือยืดมากไปหน่อยไม่มีปรกโพธิ์ รูปองค์พระล่ำสัน พระเศียรค่อนข้างเล็ก พระเพลาค่อนข้างแคบ องค์พระสถิตย์อยู่บนฐาน 3 ชั้น ชั้นกลางเป็นฐานสิงห์ 
3. พิมพ์ทรงปกโพธิ์ พุทธลักษณะเป็นพระเครื่องซึ่งมีมิติสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่กว่าพิมพ์ทรงเจดีย์ มีพระพุทธรูปนั่งสมาธิราบเหนือฐาน 3 ชั้น ซึ่งชั้นกลาวงจะเป็นฐานสิงห์ชัดเจนกว่าพิมพ์ทรงเจดีย์ด้านเหนือและด้านข้าง ๆ ของพระเศียรมีพระตุ่มเล็ก ๆ เรียกว่า “ปรกโพธิ์” รายรอบอยู่ภายในกรอบซุ้มเส้นลวด 
4. พิมพ์เล็บมือ พุทธลักษณะเป็นพระพิมพ์เดียวของวัดที่มีมิติแปลกออกไปคือ เป็นรูปทรงกรอบแก้วหรือคล้ายกับรูปเล็บมือ รูปองค์พระผึ่งผาย พระกรกางและหักมุมตรงข้อพระศอกอย่างเห็นได้ชัด มีซานรับ 2 ชั้น เป็นฐานหมอน มีฐานแซมอนขณะนี้ครับ
สุดท้ายนี้ก็ขอให้เพื่อนสมาชิกทุกท่านอยู่อย่างมี สติในทุกสถานะการณ์อย่างคำสอนขององค์พระพุทธเจ้าและผ่านพ้นเหตุการณ์ร้ายๆไป ได้ด้วยดีครับ

Visitors: 526,604